แพ้-ชนะแค่ผลลัพธ์ : ขุดลึกต้นตอที่วงการฟุตบอลไทย ต้องแก้ไขทั้งระบบ เพื่อยกระดับขยับใกล้ไปบอลโลก
แพ้-ชนะแค่ผลลัพธ์ในการแข่งขัน ส่องต้นตอที่วงการฟุตบอลไทย ต้องดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจังทั้งระบบตั้งแต่รากหญ้า เพื่อยกระดับอย่างยั่งยืนและแข็งแกร่ง
วันที่ 12 มิ.ย. 67 แพ้-ชนะแค่ผลลัพธ์ในการแข่งขันเท่านั้น ส่องต้นตอสำคัญที่วงการฟุตบอลไทย ต้องดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจังทั้งระบบตั้งแต่รากหญ้าขึ้นมา เพื่อยกระดับอย่างยั่งยืนและแข็งแกร่ง หลังจาก "ช้างศึก" ทีมชาติไทย เอาชนะ "แข้งแดนลอดช่อง" ทีมชาติสิงคโปร์ 3-1 แต่ไม่เพียงพอที่จะเข้าสู่ ฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบ 3
นั่นทำให้หลายกระแสในเรื่องลบที่มีแฟนบอล ตำหนิหัวหน้าผู้ฝึกสอนอย่าง มาซาทาดะ อิชิอิ แม่ทัพชาวญี่ปุ่น, ผลงานการเล่นในสนามของนักเตะบางคน หรือในรายของนักเตะที่มีเครื่องหมายคำถามถึงโอกาสที่ได้รับ หรือ บางคนที่ควรได้รับโอกาสแต่กลับไม่เป็นแบบนั้น ตลอดจนการบริหารของ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย หรือ บางคนก็ระบุว่ามันเกี่ยวข้องกันทั้งหมด
ทั้งนี้เพจ เปิดบอล ที่มียอดผู้ติดตามมากกว่า 10,000 คน แสดงความคิดเห็นอย่างน่าสนใจว่า สาเหตุที่ ทีมชาติไทย ไม่ได้ยกระดับขึ้นไปต่อกรในระดับทัวร์นาเมนต์ระดับเมเจอร์อย่างทวีป และระดับโลกได้ มาจากกระบวนการคิด และทัศนคติของคนในวงการฟุตบอลไทยทุกระดับ เพราะปัจจุบันทั้งในวงการส่วนใหญ่ หรือแม้แต่แฟนบอลส่วนใหญ่ มองไปที่ความสำเร็จ ต้องเป็นแชมป์ หรือที่เรียกว่ามองแค่ยอดพีระมิดโดยไม่สนใจมองลงมาถึงฐานของพีระมิดว่าแข็งแกร่ง มั่นคง และเดินไปถูกทางหรือไม่ อย่างที่เห็นว่าพอไม่ได้แชมป์ก็ถูกมองว่าล้มเหลว ไร้ความสำเร็จ จนลามไปถึงกระแสปลดโค้ช หรือจะมีเหตุการณ์ที่นักฟุตบอลตกเป็นแพะเซ่นผลงานที่น่าผิดหวัง
เราจะเห็นว่าสโมสรส่วนใหญ่ ใช้เงินในการจ้างนักเตะดังๆ ด้วยค่าเหนื่อยที่แพงระดับ โดยมองไปที่ความสำเร็จในระยะสั้น เพราะคนที่ได้ประโยชน์สูงสุดจริงๆ ไม่ใช่นักเตะ และส่วนใหญ่แล้วมองข้ามและละเลยในการให้ความสำคัญของฐานพีระมิด ที่เป็นถูกมองว่าสำคัญน้อยสุด นั่นคือกระบวนการในการสร้างนักเตะที่มีคุณภาพมากพอให้โค้ชเลือกใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นักเตะในยุคปัจจุบันอย่าง ชนาธิป สรงกระสินธ์, ธีรศิลป์ แดงดา รวมถึง ธีราทร บุญมาทัน เรามีนักเตะในระดับนี้น้อยเกินไปมากๆ รวมถึงนักเตะบางคนที่เก่งแต่ก็ไม่ได้มาจากระบบการพัฒนาของฟุตบอลไทย ดั่งที่ต่างประเทศไม่ใช่แค่ให้ความสำคัญกับทีมชุดยู-14 หรือ ยู-15 แต่ให้สำคัญตั้งแต่ 4-5 ขวบกันเลยทีเดียว
มีการจัดระบบลีกทั่วประเทศ มีการแข่งขันทุกสัปดาห์ต่อเนื่อง 7-8 เดือนขั้นต่ำเหมือนฟุตบอลระบบลีกทั่วไป โดยไม่ใช่มีอันดับตารางคะแนน หรือ ความสำเร็จมาเป็นเครื่องกดดัน แต่จุดประสงค์หลักคือต้องการให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสลงสนามแบบไร้ข้อจำกัดทางความสำเร็จ หรือ เงินรางวัล เพื่อให้โค้ชได้ใช้งานทุกคนอย่างทั่วถึง ไม่ใช่เลือกแค่กลุ่มเดิมๆ เพื่อลงล่าความสำเร็จแบบเดิมๆ จนมันส่งร้ายต่อวงการฟุตบอลในบั้นปลายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
โพส From thairath
นั่นทำให้หลายกระแสในเรื่องลบที่มีแฟนบอล ตำหนิหัวหน้าผู้ฝึกสอนอย่าง มาซาทาดะ อิชิอิ แม่ทัพชาวญี่ปุ่น, ผลงานการเล่นในสนามของนักเตะบางคน หรือในรายของนักเตะที่มีเครื่องหมายคำถามถึงโอกาสที่ได้รับ หรือ บางคนที่ควรได้รับโอกาสแต่กลับไม่เป็นแบบนั้น ตลอดจนการบริหารของ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย หรือ บางคนก็ระบุว่ามันเกี่ยวข้องกันทั้งหมด
ทั้งนี้เพจ เปิดบอล ที่มียอดผู้ติดตามมากกว่า 10,000 คน แสดงความคิดเห็นอย่างน่าสนใจว่า สาเหตุที่ ทีมชาติไทย ไม่ได้ยกระดับขึ้นไปต่อกรในระดับทัวร์นาเมนต์ระดับเมเจอร์อย่างทวีป และระดับโลกได้ มาจากกระบวนการคิด และทัศนคติของคนในวงการฟุตบอลไทยทุกระดับ เพราะปัจจุบันทั้งในวงการส่วนใหญ่ หรือแม้แต่แฟนบอลส่วนใหญ่ มองไปที่ความสำเร็จ ต้องเป็นแชมป์ หรือที่เรียกว่ามองแค่ยอดพีระมิดโดยไม่สนใจมองลงมาถึงฐานของพีระมิดว่าแข็งแกร่ง มั่นคง และเดินไปถูกทางหรือไม่ อย่างที่เห็นว่าพอไม่ได้แชมป์ก็ถูกมองว่าล้มเหลว ไร้ความสำเร็จ จนลามไปถึงกระแสปลดโค้ช หรือจะมีเหตุการณ์ที่นักฟุตบอลตกเป็นแพะเซ่นผลงานที่น่าผิดหวัง
เราจะเห็นว่าสโมสรส่วนใหญ่ ใช้เงินในการจ้างนักเตะดังๆ ด้วยค่าเหนื่อยที่แพงระดับ โดยมองไปที่ความสำเร็จในระยะสั้น เพราะคนที่ได้ประโยชน์สูงสุดจริงๆ ไม่ใช่นักเตะ และส่วนใหญ่แล้วมองข้ามและละเลยในการให้ความสำคัญของฐานพีระมิด ที่เป็นถูกมองว่าสำคัญน้อยสุด นั่นคือกระบวนการในการสร้างนักเตะที่มีคุณภาพมากพอให้โค้ชเลือกใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นักเตะในยุคปัจจุบันอย่าง ชนาธิป สรงกระสินธ์, ธีรศิลป์ แดงดา รวมถึง ธีราทร บุญมาทัน เรามีนักเตะในระดับนี้น้อยเกินไปมากๆ รวมถึงนักเตะบางคนที่เก่งแต่ก็ไม่ได้มาจากระบบการพัฒนาของฟุตบอลไทย ดั่งที่ต่างประเทศไม่ใช่แค่ให้ความสำคัญกับทีมชุดยู-14 หรือ ยู-15 แต่ให้สำคัญตั้งแต่ 4-5 ขวบกันเลยทีเดียว
มีการจัดระบบลีกทั่วประเทศ มีการแข่งขันทุกสัปดาห์ต่อเนื่อง 7-8 เดือนขั้นต่ำเหมือนฟุตบอลระบบลีกทั่วไป โดยไม่ใช่มีอันดับตารางคะแนน หรือ ความสำเร็จมาเป็นเครื่องกดดัน แต่จุดประสงค์หลักคือต้องการให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสลงสนามแบบไร้ข้อจำกัดทางความสำเร็จ หรือ เงินรางวัล เพื่อให้โค้ชได้ใช้งานทุกคนอย่างทั่วถึง ไม่ใช่เลือกแค่กลุ่มเดิมๆ เพื่อลงล่าความสำเร็จแบบเดิมๆ จนมันส่งร้ายต่อวงการฟุตบอลในบั้นปลายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
โพส From thairath
โพสต์ฮอต
-
บาร์เซโลน่าให้ความสนใจในตัวราชม์ฟอร์ด และเขาก็พิจารณาอย่างจริงจังที่จะย้ายออกจากแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
-
ไวกิงเกอร์ เรยาวิคเจอดวลยาก! คาดเกมเดือดชิงจ่าฝูงยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก
-
แพ้ 1-4 ไม่ใช่หรอ? กวาร์ดิโอล่า : ในเกมกับแมนยู ผมหวังว่าจะทำผลงานได้เหมือนพบกับสปอร์ติ้ง ซีพี
-
ผลบอล ยูเวนตุส พบ แมนซิตี้: เรืออาการหนักโดนม้าดีดจมคาสนาม
-
พรีวิวก่อนเกม ลิเวอร์พูล VS ฟูแล่ม
-
พรีวิวก่อนเกม โอลิมปิก ลียง VS ไอน์ทรัค แฟร้งค์เฟิร์ต